ศิลปะในการถ่ายภาพกับมุมมองในแนวศิลป์

การเป็นนักถ่ายภาพที่ดีนั้นสิ่งที่เราทุกคนสามารถทำได้ เพียงแต่นึกถ่ายภาพบางคนยังขาดบางสิ่งบางอย่างไปจะว่าไปแล้ว ศิลปะในการถ่ายภาพนั้นมีเทคนิคอยู่หลายอย่างและบางอย่างก็เป็นสิ่งที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าถ้าทำสิ่งเหล่านี้แล้ว จะทำให้การถ่ายภาพของเรานั้นมีคุณภาพมากขึ้นหรือ ทำให้ภาพที่เราถ่ายออกมานั้นดูแล้วมีมุมมองของภาพดีขึ้นกว่าเก่ามากอย่างเช่นการมีมุมมองที่แตกต่างไปจากผู้อื่น การที่คนเรานั้นมีมุมมองที่แตกต่างไปจากคนอื่นนั้นเราถือว่าคนนั้นเป็นคนที่มีมุมมองในแนวศิลป์ โดยมีปรัชญาว่าด้วยศิลปะการมองดังนี้

การบันทึกภาพโดยทั่วไปต้องเริ่มจากการมอง หากเรามองเห็นบางสิ่งบางอย่างสะดุดตาสะดุดใจขึ้นมาและอยากบันทึกภาพเก็บไว้ขึ้นมา นั้นเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการถ่ายภาพ นักถ่ายภาพที่ดีนั้นต้องมีมุมมองที่แตกต่างไปจากคนธรรมดาเพราะนักถ่ายภาพที่ดีควรจะมีการมองวัตถุที่จะถ่ายภาพนั้นในหลาย ๆ มุม ซึ่งในแต่ละมุมมองของภาพนั้น ๆ ก็จะมีจุดเด่นของภาพที่แตกต่างกันออกไปไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง เช่น แสง, องค์ประกอบของภาพในเวลานั้น, กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพที่เรามีอยู่ในขณะนั้น การจินตนาการของคนแต่ละคนในเวลาที่มองภาพๆ เดียวกันไม่มีข้อกำหนดตายตัวว่าต้องทำการมองอย่างไร เพราะสายตาคนเรานั้นมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และถ้าเราอยากจะเป็นนักถ่ายภาพที่ดีนั้น ก่อนที่เราจะทำการกดชัดเตอร์ลงไป ควรมองภาพเหล่านั้นในหลาย ๆ มุมมองก่อน อย่าเพียงแต่มองเห็นจุดเด่นของภาพก็ทำการถ่ายภาพนั้นได้เลย ซึ่งนั่นถือว่าเป็นการถ่ายภาพที่ยังใช้ไม่ได้ เพราะการถ่ายภาพจำเป็นต้องใช้เวลาในการมองภาพอย่างเพียงพอ ฉะนั้นเราควรที่จะหามุมต่าง ๆ เพื่อที่ว่าเราอาจจะเห็นมุมที่มีความลงตัวของภาพมากกว่าภาพแรกที่เรามองเห็นก็ได้

การที่เราเดินหามุมมองของภาพไปรอบ ๆ อาจจะทำให้เรามองเห็นมุมมองที่ดีกว่าที่เรามองเห็นครั้งแรก บางครั้งนักถ่ายภาพมือใหม่หลายคนอาจมองข้ามหรือไม่ก็ไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้มากนัก ถ้าเราอยากจะเป็นนักถ่ายภาพที่ดีเราก็ควรจะเอาใจใส่กับสิ่งเหล่านี้ให้มากขึ้น โดยสรุปสำหรับนักถ่ายภาพลองเอาไปใช้ดู

1. การถกปัญหาเรื่องการถ่ายภาพควรคุยก่อนหรือหลังการถ่ายภาพ ไม่ควรคุยในขณะที่ออกไปทำการถ่ายภาพ
2. คิดให้รอบคอบให้มาก ๆ ก่อนที่ทำการกดชัดเตอร์ทุกครั้ง
3. ควรเน้นในเรื่องฉากหลังกับจุดเด่นของภาพ
4. อย่าลังเลในการถ่ายภาพในแต่ละครั้ง
5. ถ้าเป็นไปได้ควรออกไปถ่ายภาพคนเดียว
6. ควรหมั่นหยิบกล้องขึ้นมาทำการลองโฟกัสภาพในหลาย ๆ แบบ
7. ควรหัดมองภาพถ่ายต่าง ๆ แล้วพิจารณาว่าภาพนั้นต้องการสื่ออะไรให้กับคนที่ดูภาพนั้น
8. ควรศึกษาในเรื่องอารมณ์และสีของภาพ
9. ควรเรียนรู้กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพของเราที่มีอยู่ให้ชำนาญ

นักถ่ายภาพที่เป็นระดับโปรหรือมืออาชีพนั้น ไม่ได้มองภาพเพียงครั้งเดียวแล้วกดชัดเตอร์ทันที แต่ท่านเหล่านั้นมองด้วยจิตใจและพยายามที่จะมองแล้วดึงเอาสิ่งที่ซ่อนเร้นในวัตถุที่ถูกถ่ายออกมาให้ได้