ขอบเขตในการถ่ายภาพที่นำมาเรียบเรียงในเอกสารฉบับนี้ไม่ได้จำกัดแต่งานทางการถ่ายภาพ ในงานส่งเสริม การเกษตรเท่านั้น แต่ควรจะศึกษาการถ่ายภาพในทุกรูปแบบ แล้วนำไปปรับใช้ให้ถูกกับลักษณะงานของแต่ละบุคคลดังนั้น ควรที่จะศึกษาถึงพื้นฐานที่มาของการกำเนิดกล้องจนถึงปัจจุบัน และเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในแต่ละหัวข้อเรื่องนั้นก็ยังสามารถแตกแขนงย่อยได้อีกมากมาย ซึ่งหาอ่านและศึกษาได้จากเอกสารและตำราอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านการถ่ายภาพ
ในสมัยโบราณมนุษย์ได้พยายามจะบันทึกสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัว ไว้ด้วยการวาดภาพและแกะสลัก บนฝาผนัง และได้มีการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงวาดภาพรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตโดยมีจินตนาการเป็นผู้วาดต่อมาในศตวรรษที่ 16 จิตรกรได้ใช้เครื่องมือช่วยในการวาดภาพ เครื่องมือชนิดหนึ่งเรียกว่า คามิรา ออบสคูราเป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ถึงวิธีการทำภาพถ่าย สมัยแรกของโลกคามิรา ออบสคูรา กำเนิดจากปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มองเห็นลำแสงส่องผ่านรูเล็ก ๆ ของฝาผนังห้องหนึ่งไป ปรากฎเป็นภาพบนฝาผนังด้านตรงข้าม ซึ่งอริสโตเติล นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกได้จดบันทึก ไว้เป็นครั้งแรกเมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า ถ้าเราทำห้องให้มืด ๆ แล้วปล่อยให้แสงผ่านเข้าไปทางรูเข็มเล็ก ๆ แล้วถือกระดาษขาว ให้ห่างจากรูเข็มประมาณ 6 นิ้ว แสงที่ผ่านเข้ามาจากภายนอกจะปรากฏเป็นภาพบนกระดาษมีลักษณะหัวกลับ แต่ไม่ค่อยชัดเจน ปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจะเริ่มต้นของการประดิษฐ์กล้องรูเข็ม และได้มีการพัฒนาเรื่อยมา จะสังเกตได้ว่าการพัฒนากล้องถ่ายภาพในระยะแรกนั้นยังต้องอาศัยจิตรกรวาดภาพด้วย การลอกไปตามแบบที่ปรากฎ เป็นเงา
ในระยะเวลาต่อมาประมาณ 50 ปี นับจากการกำเนิดกล้องออบสคูรา ได้มีการคิดค้นเลนส์และไดอะแฟรม เกิดขึ้น เพื่อให้ความสว่างมากขึ้น โดยนำมาติดที่กล้อง ยังช่วยให้ภาพคมชัดขึ้นด้วย นับจากต้นคริสต์ที่ 18 เป็นต้นมานักวิทยาศาสตร์และจิตรกรได้พยายามคิดค้นหาวิธีการทำให้กล้องออบสคูรา ดังกล่าวรับภาพบนจอและกลายเป็นภาพขึ้นซึ่งเป็นที่มาของการถ่ายภาพต่อมาได้มีการคิดค้นวัสดุไวแสงกับการคงสถานภาพเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2270 โดยการใช้สารเคมี ประเภทเกลือเงินฉาบบนวัสดุรองรับ จนถึง พ.ศ. 2380 หลุย จาคเคอร์ เมนเดคาร์แกร์ ประสบผลสำเร็จในการทำภาพให้ติดถาวร ด้วยสารละลายเกลือธรรมดา เมื่อนำไปใช้ถ่ายภาพจะ ได้ภาพโพสิตีฟ เรียกว่ากระบวนการคาร์แกร์โรไทฟ์ ซึ่งต่อมาได้รับการพัฒนาและเผยแพร่เป็นที่นิยมไปทั่ว และคาร์แกร์นี้เองที่ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาการถ่ายภาพสมัยใหม่