– ปรับความคมชัดของภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์
เช็กความคมชัดของภาพว่าถูกใจหรือเปล่า ซึ่งถ้ายังไม่โดนใจให้ลองปรับความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ 1/30 วินาที สำหรับเก็บวัตถุนิ่ง, 1/60 วินาที เพื่อถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนที่ช้า และ 1/125 วินาที สำหรับเก็บภาพวัตถุเคลื่อนที่เร็วอย่างสัตว์ใต้น้ำ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ภาพดูคมชัดมากขึ้น
– ตกแต่งภาพเพิ่มเติมหลังถ่ายเสร็จ
การถ่ายภาพใต้น้ำย่อมทำให้ภาพไม่ชัดและภาพอาจจะเบลอพอสมควร รวมถึงเรื่องสีอาจจะเพี้ยนไปด้วย ดังนั้นการใช้โปรแกรมต่างๆ เช่น Photoshop หรือ Lightroom สำหรับตกแต่งภาพจะช่วยให้ภาพคมชัดและสวยงาม แถมยังเพิ่มลูกเล่นต่างๆ ได้ตามต้องการด้วย
– เตรียมกล้องให้พร้อม
ควรจัดเตรียมกล้องและเคสกันน้ำสำหรับกล้องให้พร้อม เช็กอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อยว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ โดยไม่มีรอยรั่วหรือแตกหักใดๆ เลย เพราะอุปกรณ์เหล่านี้อาจได้รับความเสียหายจนใช้งานไม่ได้และต้องยกเลิกการถ่ายภาพใต้น้ำในที่สุด แถมยังต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์ชิ้นใหม่อีกต่างหาก
– ควรมีแสงสว่างมากพอ
ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการเก็บภาพใต้น้ำที่สุดควรเป็นช่วงบ่ายในวันที่แดดแรง เพราะแสงแดดสามารถส่องผ่านน้ำลงมาได้มากพอโดยไม่ต้องพึ่งแสงไฟ แต่ว่าถ้าถ่ายในช่วงที่แสงแดดน้อยก็ควรที่จะมีแสงไฟจากแหล่งอื่นๆ เสริมด้วย และหากแฟลชติดกล้องให้แสงไม่มากพอสามารถใช้แฟลชแยกที่ใส่เคสกันน้ำหรือสปอตไลท์ช่วยก็ได้
– ใช้พร็อพต่างๆ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพ
พร็อพในที่นี้สามารถเป็นได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าของแบบ ของเล่น และของใช้ต่างๆ เช่น หนังสือ ร่ม กีตาร์ หรือสิ่งใดก็ตามที่ช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับภาพได้มากขึ้น นอกจากนี้การสร้างฟองอากาศใต้น้ำก็ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจได้เช่นกัน ซึ่งอาจจะใช้ปืนยิงฟองหรือหลอดพลาสติกก็ได้ค่ะ